HOME Back

Use the

Planning a Trip to Japan?

Share your travel photos with us by hashtagging your images with #visitjapanjp

sg088 sg088

คู่มือแนะนำ เครื่องเซรามิกญี่ปุ่น ค้นพบประวัติอันยาวนานของเครื่องเซรามิกญี่ปุ่น จากเครื่องเซรามิกต่าง ๆ ตั้งแต่ถ้วยชาไปจนถึงโถสุขภัณฑ์สวย ๆ

ประเพณีการทำเซรามิกของญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดในโลกซึ่งได้วิวัฒนาการและสร้างความหลากหลายโดยฝีมือของช่างปั้นมากมายมาอย่างยาวนาน

ผิวเคลือบโปร่งแสงดูเหมือนหยดน้ำที่ไหลตามข้างเหยือกหิน เป็นลวดลายหยดน้ำและลวดลายตัดที่เผยให้เห็นพื้นผิวหยาบ สีชมพูเนื้อละเอียดบาง ๆ ทาทับอยู่บนพื้นผิวสีขาวด้านล่าง

ผลงานฝีมือชิ้นนี้ของช่างในเมืองชิงารากิ ชุมชนในจังหวัดชิงะซึ่งปัจจุบันโด่งดังเรื่องเซรามิกที่สวยงามอันเกิดจากการผสมผสานเข้ากับเทคนิคการทำเซรามิกแบบดั้งเดิมและเทคนิคที่ทันสมัย

เมืองชิงารากิเป็นหนึ่งในเมือที่พัฒนาการผลิตเซรามิกในรูปแบบของตัวเอง โดยเครื่องปั้นดินเผานี้มีต้นกำเนิดในยุคโจมนช่วงก่อนประวัติศาสตร์

 

** เตาเผาญี่ปุ่นดั้งเดิม

 

เรื่องเล่าประวัติศาสตร์อันยาวนาน

นานมาแล้วช่างฝีมือเป็นผู้สร้างเตาอุโมงค์หรือที่เรียกว่าเตาเผาอะนะกะมะบนเนินเขา ส่วนช่างฝีมือร่วมสมัยในบางเมืองก็ยังคงผลิตเครื่องหินด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมอยู่จวบจนทุกวันนี้

มีการนำผิวเคลือบสีเขียวเรียบง่ายที่ทำจากตะกั่วอันเป็นเทคนิคที่นำเข้ามาจากจีนช่วงราชวงศ์ถังเข้ามาใช้ในยุคเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1185) โดยยังคงมีรูปแบบการปั้นที่โดดเด่นตามภูมิภาค เช่น การปั้นแบบคามูอิ อัตสึมิ และอื่น ๆ

เครื่องหินหยาบของ “เตาเผาเก่า” ทั้งหกแห่งชิงารากิ ทัมบาระ บิเซ็น โทะโกะนะเมะ เอจิเซ็น และเซโตะ ยังคงเป็นที่นิยมสำหรับท่องไปในยุคคะมะคุระ (ค.ศ. 1185 - 1333) ถึงแม้ว่าผู้ผลิตจะได้รับอิทธิพลจากเครื่องปั้นดินเผาจีนรวมถึงเครื่องเซรามิกจากเกาหลีและเวียดนามมากขึ้นก็ตาม

 

** เครื่องเคลือบเซรามิกได้รับความนิยมมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 16

 

เซรามิกและพิธีชงชา

ความนิยมของพุทธศาสนาในยุคเซ็นโกกุช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ทำให้ญี่ปุ่นเริ่มกลับมาผลิตถ้วยดินเผาที่เรียบง่ายแทนการผลิตเครื่องลายครามจีนที่หรูหราและซับซ้อน ผู้ชงชามืออาชีพนิยมชมชอบถ้วยที่ไม่เคลือบและแสดงให้เห็นฝีมือของช่างปั้นเพื่อนำไปใช้ในพิธีชงชา โดยเฉพาะเครื่องรากุ

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็ได้มีการค้นพบร้านเครื่องลายครามในที่ใกล้ ๆ กับเมืองอาริตะ ในคิวชู ซึ่งนำไปสู่การผลิตเครื่องลายครามชิ้นแรกในญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ เครื่องเซรามิกจึงแตกแขนงออกเป็นสองสาย สายงานหยาบที่เรียบง่ายจากช่างปั้นที่ต้องการความเรียบง่ายและความไม่สมมาตรที่เรียกว่าเป็นวะบิซะบิหรือการยอมรับเข้าใจในความไม่ยั่งยืนและความไม่สมบูรณ์ ตรงกันข้ามกับเครื่องลายครามที่มีรูปทรงและสีสันที่สมบูรณ์แบบ

 

** เครื่องลายครามสีน้ำเงินตัดขาวเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1600

 

ความนิยมในต่างประเทศ

การค้าขายกับชาวต่างชาติได้ทำให้การผลิตเครื่องครามญี่ปุ่นสำหรับตลาดเกิดใหม่นอกประเทศมีมากขึ้น โดยเครื่องลายครามสีน้ำเงินตัดขาวนี้เป็นสินค้ามูลค่าสูงในยุโรปช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1600

การเริ่มต้นของยุคเมจิในคริสต์ทศวรรษ 1860 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสังคมญี่ปุ่น เนื่องจากรัฐบาลได้สนับสนุนการนำวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาปรับใช้ซึ่งส่งผลต่อศิลปะและหัตถกรรมดั้งเดิมด้วยเช่นกัน ลูกค้าหลายรายเริ่มไม่สนใจเครื่องเซรามิกจากช่างฝีมือที่เลี้ยงชีพด้วยการปั้นเซรามิก และอุตสาหกรรมเริ่มมีความเป็นท้องถิ่นและเฉพาะทางมากขึ้น

ความนิยมสมัยใหม่

ผู้เลื่อมใสในงานฝีมือ เช่น ยะนะงิ โซะเอตสึได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อสืบทอดมรดกเครื่องเซรามิกของประเทศในต้นศตวรรษ ในฐานะนักปรัชญาและผู้ก่อตั้งมิงเกะอิหรือการเคลื่อนไหวของหัตถกรรมพื้นบ้าน เขาได้ฟื้นฟูและเก็บรวบรวมเครื่องเซรามิกในครัวเรือนทั่วไปที่ชาวบ้านทิ้งไว้ หลังจากที่ญี่ปุ่นได้กลายเป็นสังคมเมือง ซึ่งเขาได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1936

ในปัจจุบัน เครื่องเซรามิกญี่ปุ่นได้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง เพราะผู้คนมองว่าเซรามิกเป็นสิ่งที่มีเอกลักษณ์และโดดเด่นกว่าถ้วยชามทั่วไปที่ผลิตเป็นจำนวนมากและชอบความแปลกใหม่มากกว่าประโยชน์ใช้สอย สตูดิโอต่าง ๆ เองก็สนับสนุนให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสกับวิธีสร้างเครื่องเซรามิกที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยตนเอง

 

** เครื่องเซรามิกในบางภูมิภาคของญี่ปุ่นจะมีลักษณะเด่นที่เฉพาะตัว

 

ของขึ้นชื่อท้องถิ่น

ผู้ที่สนใจเครื่องเซรามิกควรไปเยี่ยมชมหมู่บ้านอิมเบะในย่านบิเซ็นของจังหวัดโอคะยะมะ เครื่องปั้นดินเผาของบิเซ็นปรากฏขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 14 ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในศตวรรษที่ 16 ด้วยลักษณะที่เรียบง่ายและการนำไปใช้ในพิธีชงชา

เครื่องปั้นดินเผาของบิเซ็นจะไม่เคลือบและมีลักษณะเหมือนดินเผา กล่าวคือเครื่องปั้นดินเผามีสีน้ำตาลแดงและเถ้าจากกระบวนการผลิตในเตาเผาที่ใช้ถ่านไม้

 

** การออกแบบเซรามิกที่ได้รับอิทธิพลจากจีน

 

ผู้เยี่ยมชมยังสามารถเดินทางมายังเมืองอาริตะที่โด่งดังในด้านเครื่องลายครามสีน้ำเงินตัดขาวดั้งเดิมและการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลจากจีน ซึ่งมีการใช้สีที่สว่างขึ้นและการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น

ช่างปั้นในเมืองฮะงิ ในจังหวัดยะมะงุชิได้รับแรงบันดาลใจจากเกาหลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 โดยมีขุนนางท้องถิ่นได้สั่งทำเครื่องปั้นดินเผาของฮะงิไว้สำหรับใช้ในพิธีชงชาของตนเองและสำหรับใช้เป็นของขวัญ เครื่องปั้นดินเผานี้มีชื่อเสียงด้านรูปทรงที่ลึกซึ้งและเป็นธรรมชาติ รวมถึงการใช้สีเรียบ ๆ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตัดกับสีเขียวสว่างของชาเขียวมัตชะ

 

 

เครื่องลายครามคุตะนิจะมีรูปแบบที่ละเอียดอ่อนและหรูหรามากขึ้น ซึ่งมีต้นกำเนิดในจังหวัดอิชิคะวะและสามารถสืบไปได้ไกลถึงเตาเผาที่สร้างขึ้นในกลางคริสต์ทศวรรษ 1650 เครื่องคุตะนิที่เก่าแก่กว่าจะมีสีเขียวเข้ม สีน้ำเงิน และสีเหลืองในการออกแบบ แต่เนื่องจากการยกเลิกผลิตในปี ค.ศ. 1730 จึงทำให้ผลงานในยุคนี้มีจำนวนน้อยมาก การผลิตได้เริ่มขึ้นอีกครั้งในทศวรรษแรกของคริสต์ทศวรรษ 1800 โดยการใช้เทคนิคการวาดลายเคลือบเพื่อสร้างการออกแบบที่ซับซ้อนและมีสีสัน

เครื่องลายครามที่โดดเด่นอีกอย่างคือเครื่องลายครามโทะเบะจากจังหวัดเอะฮิเมะบนเกาะชิโกะคุ เครื่องปั้นดินเผาสีน้ำเงินขาวนี้เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อขุนนางเขตโอซุเริ่มจ้างช่างปั้นให้สร้างเครื่องปั้นดินเผาท้องถิ่นในปี ค.ศ. 1777 เครื่องเคลือบเงาโทะเบะมักจะมีฐานที่ค่อนข้างหนา ในขณะที่การออกแบบจะมีลักษณะเป็นลายพู่กันที่ละเอียดอ่อนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ตามเชดสีน้ำเงินบนฐานสีขาว

 

** พิพิธภัณฑ์เครื่องเซรามิกคิวชูและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเครื่องเซรามิกอาริตะ

 

งานฝีมือ

ความสนใจในรูปแบบศิลปะญี่ปุ่นที่มีมากขึ้นช่วยทำให้ช่างปั้นหลายคนเริ่มเปิดประตูต้อนรับผู้เยี่ยมชม รวมถึงนักท่องเที่ยวที่อาจต้องการลองสร้างเครื่องเซรามิก

พิพิธภัณฑ์เครื่องเซรามิกคิวชูและพิพิธภัณฑ์ศิลปะเครื่องเซรามิกอาริตะในภูมิภาคคิวชูจะสอนผู้เยี่ยมชมเกี่ยวกับประวัติเครื่องปั้นดินเผาอาริตะและจัดแสดงตัวอย่างเครื่องเซรามิกเลืองชื่อที่งดงาม เวิร์กช็อปและเตาเผาต่าง ๆ ตามภูมิภาคเองก็เปิดให้เข้าชมได้เช่นกัน

นอกจากนั้นแล้ว ผู้เยี่ยมชมที่อยู่เมืองมาชิโกะ ในจังหวัดโทจิงิสามารถเดินเที่ยวชมสินค้าที่จัดแสดงอยู่ตามร้านเครื่องปั้นดินเผากว่า 30 ร้านได้อีกด้วย หลายร้านจะมีคอร์สสอนวิธีสร้างถ้วย เหยือก หรือจาน ซึ่งสามารถจัดส่งถึงที่อยู่คุณหลังจากเข้าเตาเผาเสร็จแล้ว

 

** เครื่องเซรามิกสมัยใหม่ของบริษัท โตโต้ จำกัด และเครื่องโต๊ะของโนริตาเกะ

 

เซรามิกร่วมสมัย

ประวัติศาสตร์เครื่องเซรามิกของญี่ปุ่นดำเนินมาถึงยุคสมัยใหม่ด้วยบริษัท เช่น โนริตาเกะ ที่โด่งดังด้านเครื่องโต๊ะ ระดับโลก บริษัท โตโต้ จำกัด ซึ่งใช้ชื่อที่ย่อมาจากคำญี่ปุ่นว่าโทะโยะโทะกิที่แปลว่าเครื่องเซรามิกดั้งเดิมได้พัฒนาเซรามิกสมัยใหม่ที่ถูกนำไปใช้ในสุขาและห้องน้ำทั่วโลก อย่างไรก็ดี ช่างปั้นญี่ปุ่นก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในวงการศิลปะร่วมสมัย

ข้อมูลทั้งหมดถูกต้อง เดือนมีนาคม ค.ศ. 2019

 

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับเวบไซต์อย่างเป็นทางการ



* ข้อมูลต่างๆ บนเวบไซต์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

คุณอาจจะชอบ...

Please Choose Your Language

Browse the JNTO site in one of multiple languages