HOME Back

Use the

Planning a Trip to Japan?

Share your travel photos with us by hashtagging your images with #visitjapanjp

story guide story guide

คู่มือแนะนำ เหล้ายินญี่ปุ่น เหล้ายินญี่ปุ่นกลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ

คราฟต์ยินญี่ปุ่นกับเป้าหมายคว้าแชมป์โลก ความฝันสุดยอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลำดับที่สองรองวิสกี้

ถึงแม้วัฒนธรรมสาเกญี่ปุ่น จะเฟื่องฟู แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าที่นี่มีดีแค่สาเก นับตั้งแต่ยามาซากิได้รับรางวัลวิสกี้ที่ดีที่สุดในโลกปี ค.ศ. 2015 วิสกี้ญี่ปุ่นก็ได้กลายเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีชื่อเสียง ญี่ปุ่นที่ไม่เคยหลุดกระแสการปรุงอาหารได้พยายามตีตลาดคราฟต์ยิน ในปี ค.ศ. 2016 โรงกลั่นเล็ก ๆ ในเกียวโต ได้เปิดตัวยินแบบกลั่นเองชุดแรกของญี่ปุ่น ยักษ์ใหญ่อย่างซันโทรี่และนิกกะก็ตามกระแสด้วยการผลิตคราฟต์ยินของตัวเอง เนื่องจากญี่ปุ่นมีพืชสมุนไพรนานาพันธุ์จึงทำให้ยินญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับโลกรุ่นถัดไป

 

บาร์จูนิเปอร์ขึ้นชื่อด้านยินและค็อกเทลด้วยรสชาติท้องถิ่น

 

วัฒนธรรมอาหารที่ลึกซึ้งและเก่าแก่ของญี่ปุ่น

วัฒนธรรมอาหารจะไม่สมบูรณ์หากไม่พูดถึงประวัติศาสตร์ เมืองเกียวโตคือศูนย์กลางของประเพณีทุกแขนง คุณสามารถเดินเข้าออกโรงสาเกต่าง ๆ ในย่านฟุชิมิสาเกและรับประทานอาหารที่ภัตตาคารที่หรูหราที่สุดในญี่ปุ่นได้ บาร์ เช่น โนะกิชิตะ711 ของเกียวโตเป็นบาร์ชั้นนำที่มีคราฟต์ยินญี่ปุ่นให้เลือกหลากหลาย

ไม่น่าแปลกใจเลยที่เกียวโตเป็นแหล่งกำเนิดของวงการคราฟต์ยินของญี่ปุ่น โรงกลั่นเกียวโตได้เปิดตัวคิโนะบิเกียวโตดรายยินในปี ค.ศ. 2016 ซึ่งนับเป็นยินกลั่นที่ผลิตในประเทศตัวแรกของญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 โรงกลั่นเพิ่มจำนวนมากขึ้นและขยายออกไปนอกเกียวโต หมู่เกาะโอกินาวะ โอซาก้า เซ็นได มิยะซะกิ และล่าสุดฮิโรชิมะก็เริ่มมีโรงกลั่นคราฟต์ยินเปิดใหม่มากขึ้น ยินเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขนาดมีบาร์ยินเปิดใหม่ในละแวกโกลเดนไกของโตเกียว มีร้านกู้ดมีลส์ใกล้กับฟุตาโกะทามางาวะในโตเกียวที่สต็อกยินท้องถิ่นไว้มากมาย และมีบาร์ยินต่าง ๆ ในคิตาชินจิอันเป็นแหล่งเที่ยวกลางคืนของโอซาก้า

 

วงการคราฟต์ยินญี่ปุ่นเริ่มที่เกียวโต

 

ยินเป็นเหล้าประเภทหนึ่งท่ามกลางเหล้าประเภทต่าง ๆ

ส่วนใหญ่รสชาติหลักในยินจะมาจากผลจูนิเปอร์เบอร์รี ยินไม่มีทั้งแหล่งกำเนิด รสชาติ และปริมาณวัตถุดิบที่ตายตัวเพื่อให้เรียกเครื่องดื่มนี้ได้อย่างเต็มปากว่ายิน ไม่เหมือนเบอร์เบิ้นซึ่งต้องผลิตในสหรัฐฯ และมีส่วนประกอบเป็นข้าวโพด 51% ยินสามารถผลิตที่ใดก็ได้ในโลกและผสมกับพืชสมุนไพรท้องถิ่นใด ๆ ก็ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็ยังสามารถเรียกได้ว่ายิน นอกจากจูนิเปอร์เบอร์รีแล้ว พืชสมุนไพรที่ผสมยินโดยทั่วไป ได้แก่ เปลือกมะนาว ผักชี และรากตังกุยซึ่งช่วยเพิ่มรสชาติแบบต้นสน สิ่งที่ทำให้ยินแตกต่างกันไปคือพืชสมุนไพรที่ผสมลงไป ญี่ปุ่นที่มีฤดูกาลที่แตกต่างกันถึงสี่ฤดูและภูมิอากาศที่หลากหลายเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การผลิตยิน พืชสมุนไพรยินญี่ปุ่นช่วยสร้างเครื่องดื่มกลิ่นหอมรัญจวนที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยดอกซากุระ เปลือกส้มยุสุ ซันโช และชาเขียว ยินที่ผลิตในภูมิภาคทางใต้เขตร้อนของหมู่เกาะโอกินาวะ จะมีการผสมผลจูนิเปอร์กับผลไม้ท้องถิ่น เช่น ส้มชิกุวะซะและคะโบะซุ โรงกลั่นคราฟต์ยินในฮิโรชิมะ อันเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องหอยก็ได้ผลิตยินที่ผสมด้วยเปลือกหอยนางรม ซึ่งเกิดเป็นการผสมยินรูปแบบใหม่ที่มีอาหารทะเลเป็นส่วนผสม ยินคือเหล้าที่เหมือนกับผืนผ้าใบว่าง ๆ ซึ่งรอให้โรงกลั่นญี่ปุ่นได้แต่งแต้มสีสันของตัวเองโดยไม่มีท่าทีว่าจะหมดความนิยมลงไปอย่างช้า ๆ

 

ยินกลั่นโดยผู้เชี่ยวชาญเริ่มผุดขึ้นมาทั่วญี่ปุ่น

 

ยินกลั่นโดยผู้เชี่ยวชาญในญี่ปุ่น

โรงกลั่นเกียวโตได้รับฉายาว่าเป็นผู้ผลิตยินกลั่นรายแรกของญี่ปุ่น เนื่องจากได้เปิดตัวคิโนะบิเกียวโตดรายยินในปี ค.ศ. 2016 คิโนะบิที่แปลว่า “ความงามของฤดูกาล” จะถูกผลิตในสไตล์ลอนดอนดรายยิน โดยยินนี้จะผลิตขึ้นโดยการผสมเหล้าข้าวกับไซเปรซญี่ปุ่น ชาเกียวกุโระ และซันโชหรือพริกไทยญี่ปุ่น ยูสุยินที่คิดค้นโดยโรงกลั่นเกียวยะในมิยาซะกิจะมีวัตถุดิบตั้งต้นเป็นมันฝรั่งโชจูกับขิง ซันโช และส้มยุสุ เข้มข้น

 

โระกุดึงเอารสชาติที่โดดเด่นจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น

 

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 โรงกลั่นอื่น ๆ รวมถึงผู้ค้าเหล้ารายใหญ่ระดับโลก เช่น ซันโทรี่และนิกกะก็ได้เริ่มผลิตยินตามกระแส ซันโทรี่ได้เปิดตัวโระกุจากโรงกลั่นเหล้าในโอซาก้า โระกุที่แปลว่าเลขหกในภาษาญี่ปุ่นเป็นชื่อที่อ้างอิงถึงพืชสมุนไพรทั้งหกชนิดที่ใช้ในการผสมยินนี้ ใส่พริกไทยซันโชลงไปปริมาณหนึ่งเพื่อให้ยินมีรสชาติเผ็ดเล็กน้อย นิกกะคอฟฟียินจะมีรสชาติหลักจากส้มยูสุ เปลือกเลมอนและผลไม้ญี่ปุ่นอื่น ๆ เพื่อให้ยินมีรสเปรี้ยวเข้มข้น ชื่อนี้มาจากเครื่องกลั่นที่ใช้ในการผลิตวิสกี้ที่ตั้งอยู่ที่โรงงานผลิตของบริษัท มิยะงิเคียว ดิสสติลเลรี่

 

โรงสาเกมิยะชิตะ

 

โรงสาเกมิยะชิตะในโอคะยะมะเองก็ไม่พลาดการบูมของคราฟต์ยิน โรงสาเกได้สร้างยินของตัวเอง โดยใช้โชจูเป็นวัตถุดิบตั้งต้นและผสมกับพืชสมุนไพรญี่ปุ่นทั้งสิบชนิด เช่น ลูกพีชและองุ่นที่ผสมเพื่อให้ยินมีรสหวาน ยินหมักในถังไม้โอ๊กจะมีสีเหลืองอำพันและกลิ่นหอมเย้ายวนใจ

ข้อมูลทั้งหมดถูกต้อง เดือนมีนาคม ค.ศ. 2019

 

ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับเวบไซต์อย่างเป็นทางการ



* ข้อมูลต่างๆ บนเวบไซต์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

คุณอาจจะชอบ...

Please Choose Your Language

Browse the JNTO site in one of multiple languages