HOME Back

Use the

Planning a Trip to Japan?

Share your travel photos with us by hashtagging your images with #visitjapanjp

sg093 sg093

คู่มือแนะนำ พิธีชงชาแบบญี่ปุ่น พิธีชงชาที่ยกระดับพิธีรับแขกให้กลายเป็นศิลปะรูปแบบหนึ่ง

พิธีชงชา หนึ่งในประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดแบบญี่ปุ่นที่มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน

พิธีชงชาเป็นการเตรียมเครื่องดื่มที่ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาให้มีความเป็นศิลปะด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายตามลำดับอย่างเข้มงวดและละเอียดอ่อนเพื่อให้แขกชื่นชมและรู้สึกประทับใจ

พิธีชงชาหรือที่แปลออกมาตรงตัวได้ว่า “วิถีแห่งชา” เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีญี่ปุ่นที่เรียกว่า โอโมเตนาชิ ซึ่งแปลว่าการดูแลแขกอย่างจริงใจ

พิธีชงชาเป็นที่รู้จักกันในชื่อชะโนะยูหรือซาโดะในภาษาญี่ปุ่น โดยเป็นศาสตร์การเตรียมและเสิร์ฟชาเขียวมัตชะแบบชงจากผงที่เรียกว่าโอะเตะมะเอะ ชะไกเป็นการชุนนุมอย่างไม่เป็นทางการที่จัดขึ้นเพื่อชื่นชมการเสิร์ฟชาในรูปแบบพิธีกรรม ในขณะที่พิธีชงชาอย่างเป็นทางการจะเรียกว่าชะจิ รูปแบบพิธีชงชาอีกอย่างที่พบเห็นได้น้อยกว่านั้นคือพิธีที่ใช้ใบชาในชื่อเซ็นชาโดะ

การเสิร์ฟชาได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปะแขนงหนึ่งในญี่ปุ่น

รากฐานในพุทธศาสนานิกายเซ็น

พิธีชงชาได้รับการยอมรับเป็นหนึ่งในสามศิลปะคลาสสิกที่มีความประณีตแบบญี่ปุ่น เช่นเดียวกับพิธีดมเครื่องหอมและพิธีจัดดอกไม้ ซึ่งพิธีชงชานี้จะมีประวัติมาตั้งแต่พุทธศาสนานิกายเซ็นในปี ค.ศ. 815 ในปีนั้น พระชื่อเอจูได้กลับมาจากจีนอันเป็นดินแดนที่บริโภคชาเป็นเวลากว่าพันปี โดยเขาได้เตรียมพิธีเซ็นชะสำหรับจักรพรรดิซะกะ

จักรพรรดิรู้สึกประทับใจและสั่งให้มีการเพาะพันธุ์ชาในภูมิภาคคิงกิทางตะวันตกของญี่ปุ่นซึ่งส่งผลให้ขุนนางเริ่มดื่มชากัน แต่ชาจะเริ่มเป็นที่นิยมของคนหมู่มากจริง ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 12

ประเพณีนี้มีรากฐานอยู่ในพุทธศาสนานิกายเซ็น

พิธีกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์

ชาเขียวยังมีการนำไปใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาในวัดวาอาราม และต่อมาไม่นานการดื่มชาก็ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชนชั้นสูงในสังคมญี่ปุ่น งานเลี้ยงน้ำชาเป็นที่นิยมมากขึ้นและทุกคนก็เห็นตรงกันว่าชาเขียวที่ดีที่สุดนั้นจะปลูกในเกียวโต ซึ่งใช้เมล็ดชาที่พระอีกรูปหนึ่งได้ไปนำมาจากจีน

ภาพวาดในยุคมูโรมาจิปี ค.ศ. 1336 - 1573 ของญี่ปุ่นและพิธีชงชาได้เริ่มมีภาพลักษณ์แบบสุนทรียศาสตร์ จากนั้นในศตวรรษที่ 16 พิธีดื่มชาก็ได้กลายเป็นพิธีกรรมทั่วไปในสังคมญี่ปุ่นทุกระดับชนชั้น

เซ็น โนะ ริกิวน่าจะเป็นบุคคลที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์ชาญี่ปุ่น เขาถือหลักปรัชญาที่ว่าควรให้ความสำคัญกับการพบปะทุกครั้ง เนื่องจากการพบปะแต่ละครั้งต่างมีคุณค่าที่ไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ เขาได้ระบุหลักการที่จำเป็นต้องมีอยู่ในพิธีชงชา ได้แก่ ความปรองดอง ความเคารพ ความบริสุทธิ์ และความเงียบสงบ

ว่ากันว่าเกียวโตเป็นแหล่งผลิตชาเขียวที่ดีที่สุดในประเทศ

ศาสตร์การชงชา

ผู้เชี่ยวชาญสมัยใหม่ต่างยึดถือกฎระเบียบเดียวกัน แต่พิธีชงชาของแต่ละสำนักจะต่างกันไปในรายละเอียด

พิธีชงชาตามแบบประเพณีจะจัดขึ้นในห้องชาชะชิตสึที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้ โดยภายในห้องจะมีพื้นเสื่อทาตามิและเตาผิง วัสดุที่ใช้สำหรับอาคารและการออกแบบจะคัดสรรไว้ให้มีความเรียบง่าย

ผู้ชงชาจะมีอุปกรณ์พิเศษสำหรับพิธีชงชา ได้แก่ ถ้วยชาชะวันและผงชาที่ผสมโดยใช้ไม้ไผ่ และแปรงชงชาไม้ไผ่ชื่อชะเซ็น

ชาจะผ่านการเตรียมโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ

กระบวนการที่เข้มงวด

ถึงแม้กระบวนการชงชาที่เข้มงวดของแต่ละสำนักจะมีความแตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่พิธีชงชาก็ยังคงมีความเหมือนกันอยู่ แขกจะถอดรองเท้าก่อนเข้าไปในห้องรองรับของห้องชา หลังจากเจ้าภาพโค้งคำนับเสร็จ แขกก็จะประกอบพิธีชำระล้างที่อ่างหินโดยการล้างมือและบ้วนปากก่อนเข้าไปในห้องปูเสื่อทาตามิ ซึ่งพวกเขาจะได้ติชมภาพม้วนที่แขวนอยู่ในเวิ้งจัดแสดงหรือชมดอกไม้ตามฤดูกาลที่ได้จัดวางเอาไว้

ทันทีที่แขกนั่งในท่าคุกเข่าเซซะ ผู้ชงชาจะเริ่มพิธีโดยการทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างพิถีพิถันตามลำดับขั้นตอน น้ำชาจะถูกต้มในกาน้ำบนกองถ่านไฟด้วยความใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน จากนั้นลำดับสุดท้ายคือเทใส่ถ้วยและมอบให้แก่แขกคนแรกที่สำคัญที่สุด

ผู้รับจะต้องยกถ้วยเพื่อแสดงความเคารพแก่ผู้ชงชา หมุนถ้วยเล็กน้อยเพื่อหลีกเลี่ยงการดื่มจากด้านหน้า จิบชา จากนั้นจึงชมผู้ชงชาเรื่องรสชาติและถ้วยที่เสิร์ฟ จากนั้นจึงส่งถ้วยให้แขกคนถัดไป ซึ่งจะดำเนินกระบวนการนี้ซ้ำจนกว่าจะชิมชาครบหมดทุกคนแล้ว

ผู้ชงชาจะสวมชุดดั้งเดิมในการประกอบพิธี

ความสำคัญของมารยาท

มารยาท เป็นส่วนสำคัญในพิธีกรรมนี้และผู้ชงชาจะสวมกิโมโนสำหรับพิธีชงชาอยู่เสมอ แขกที่เข้าร่วมพิธีชงชาอย่างเป็นทางการควรสวมชุดให้เหมาะสม แต่แขกไม่จำเป็นต้องสวมชุดอย่างเป็นทางการในช่วงสาธิตกระบวนการในพิธีชงชา อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการสัมผัสกับพิธีชงชาจริง ๆ ควรปฏิบัติตามกระบวนการอย่างเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องกังวลหากเกิดการผิดพลาดเล็กน้อย

บางครั้งอาจมีการเสิร์ฟเค้กหวาน ๆ ให้แขกในระหว่างที่เจ้าภาพกำลังเตรียมชาถ้วยที่สองสำหรับแขก ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่แขกต้องติชมความงามของสภาพแวดล้อมและคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธี ในพิธีชงชามักจะมีการเสิร์ฟอาหารเบา ๆ ที่ทำจากวัตถุดิบตามฤดูกาลที่ดูสวยงามแก่แขกด้วย

วัดวาอาราม สวนญี่ปุ่นดั้งเดิม สถานที่ทางวัฒนธรรม และโรงแรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในเกียวโตอันเป็นเมืองหลวงเก่าที่ยังคงเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิมจะมีห้องชาซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถสัมผัสกับพิธีชงชาได้ ในขณะที่พิธีชงชาแบบเป็นทางการจะใช้เวลานานหลายชั่วโมง หลายสถานที่จะมีพิธีชงชาแบบรวบรัดที่เหมาะสำหรับแขกต่างชาติมากกว่า

บางครั้งจะมีการเสิร์ฟอาหารมื้อเล็ก ๆ คู่กับน้ำชา

การศึกษาพิธีชงชา

สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมที่เก่าแก่นี้ โรงเรียนชงชาทั่วทั้งประเทศจะเปิดให้เข้าเรียนคอร์สดื่มด่ำกับพิธีชงชาและขั้นตอนที่เข้มงวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธี คอร์สเหล่านี้ปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่สาว ๆ ซึ่งเชื่อกันว่าพิธีชงชาจะช่วยสร้างความเคารพนบน้อมผ่านความนุ่มนวลและมารยาทที่เหมาะสม ถึงแม้จะมีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าการเชี่ยวชาญในศาสตร์นี้ต้องใช้เวลาในการฝึกหลายปีก็ตาม แม้แต่ผู้ชงชาในพิธีซึ่งอุทิศชีวิตตนแด่ศาสตร์แห่งการชงชาก็ยังยืนยันว่าตนเองยังมีเรื่องให้เรียนรู้อีกมากมาย



* ข้อมูลต่างๆ บนเวบไซต์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

คุณอาจจะชอบ...

Please Choose Your Language

Browse the JNTO site in one of multiple languages