เทศกาลที่ขนาดไม่ใช่เรื่องเล็ก
เทศกาลคะนะมะระ มัตสึริในคะวะซะกิในวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายนเป็นหนึ่งในเทศกาลฤดูใบไม้ผลิที่มีผู้คนหนาแน่นที่สุดในญี่ปุ่น เทศกาลนี้มีศาลเจ้าเคลื่อนที่รูปลึงค์สามแห่งอย่างร่าเริงและมีอาหารและสินค้าหลากหลายเพื่อให้เข้ากับงานเฉลิมฉลอง
พลาดไม่ได้
- การแห่ลึงค์ศักดิ์สิทธิ์สุดอึกทึก
- สินค้าและอาหารรูปลึงก์ที่แปลกและไม่เหมือนใคร

วิธีการเดินทาง
คะนะมะระ มัตสึรินั้นจัดขึ้นที่คะวะซะกิ ซึ่งเดินทางได้โดยรถไฟจากสถานีหลักๆ ในโตเกียว
สามารถเดินไปยังศาลเจ้าคานายามะซึ่งเป็นสถานที่จัดงานและศาลเจ้าเคลื่อนที่ในงานเทศกาลสองชุดที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต สถานีคะวะซะกิ ไดชิใช้เวลาเดินทางประมาณ 15-20 นาทีจากสถานีโยโกฮามะ ใช้เวลาประมาณ 45 ถึง 50 นาทีจากชินจูกุบนสายเจอาร์ยามาโนะเตะหรือรถด่วนเคฮิน
ภาพรวม
ในสมัยก่อน คนขายบริการทางเพศจะมาที่เทศกาลเพื่ออธิษฐานขอการคุ้มครองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบัน เทศกาลนี้เป็นที่รู้จักในฐานะกิจกรรมที่ต่อสู้กับเชื้อ HIV
เทศกาลนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่ออุตะมะโระมัตสึริตามชื่อของคิตะกาวะ อุตะมะโระ ศิลปินที่มีชื่อเสียงในเรื่องงานอีโรติก
คำว่า “มะระ” ใน “คะนะมะระ” เดิมหมายความว่า “อุปสรรคต่อการฝึกฝนทางพุทธศาสนา” แต่กลายมาเป็นคำพูดสุภาพสำหรับเรียกอวัยวะเพศชาย
เทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่มีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เทศกาลฉลองในฤดูใบไม้ผลิของทุกปีนี้จัดที่ศาลเจ้าคานายามะ แม้ว่าที่นี่จะเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตามหาเรื่องแปลกๆ ในญี่ปุ่น ต้นกำเนิดที่เป็นประวัติศาสตร์ก็น่าประหลาดใจพอๆ กับความขบขันในยุคปัจจุบัน
เทพแห่งงานโลหะ
ศาลเจ้าคานายามะนี้สร้างขึ้นเพื่อบูชาคานายามะฮิโกะและคานายามะฮิเมะ เทพและเทพีผู้ปกป้องโรงตีเหล็ก ดังนั้น มีช่างตีเหล็กและช่างโลหะจำนวนมากมาสักการะที่ศาลเจ้า
อธิษฐานเพื่อต่ออายุ
เทศกาลคะนะมะระ มัตสึริเริ่มมีขึ้นเมื่อหลายร้อยปีก่อนเพื่อให้ผู้ให้บริการทางเพศในท้องถิ่นสวดมนต์เพื่อการป้องกันจากโรคและเพื่อการต่ออายุ
เผยแพร่ความเชื่อ
ทุกวันนี้ เทศกาลนี้มีชื่อเสียงจากมิโคชิรูปลึงค์ทั้งสามหรือศาลเจ้าแบบพกพาที่ผู้เข้าร่วมแห่ไปในขบวนแห่ แทนที่จะเน้นไปในด้านธุรกิจขายบริการทางเพศ เรื่องราวค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นการขอพรให้มีลูกหรือได้แต่งงาน
ในทศวรรษ 1980 ผู้นมัสการเริ่มมาขอพรให้แคล้วคลาดจากโรคเอดส์ นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เทศกาลนี้มีชื่อเสียงมากขึ้นในบริเวณรอบๆ
ผงาดง้ำค้ำโลก
ดาวเด่นของงานเทศกาลคือลึงค์ที่ตั้งเด่สามแท่งซึ่งแห่บนเกี้ยว เรือคะนะมะระ มัตสึริมีลึงค์ที่ทำจากเหล็กสีดำ

“เอลิซาเบธ” เป็นแท่งสีชมพูที่บริจาคโดยคลับแดร็กในอาซากุสะบาชิ และเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาล
ชิ้นที่เก่าแก่ที่สุดในสามชิ้น ได้แก่ “คะนะมะระ โอมิโกชิ” ทำจากไม้
ของที่ระลึกที่ช่วยสร้างบรรยากาศ
มีสินค้าที่ออกแบบมาเพื่องานนี้หลายอย่าง ที่ผ่านมาเคยมีเทียนรูปลึงค์หลากสี ลูกอมรูปลึงค์ ผ้าเช็ดมือแปลกๆ และของเล่น เครื่องประดับ ของตกแต่งจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีแม้แต่อาหารที่มีรูปแบบลึงค์ เช่น ไชเท้าแกะสลัก
แปลกแต่ศักดิ์สิทธิ์
แม้ว่าคะนะมะระ มัตสึริจะแตกต่างไปจากชีวิตประจำวันทั่วไปในญี่ปุ่น ผู้จัดก็ยังเน้นย้ำว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้จะไม่ค่อยมีปัญหาเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยก็เตรียมพร้อมจัดการกับความอนาจาร การคุกคามและสิ่งที่ทำลายบรรยากาศสนุกสนานอื่นๆ ต้องจำไว้ว่าแม้จะสนุกสนาน เทศกาลนี้ก็มีด้านที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วย
ระหว่างที่เที่ยวในบริเวณนี้ ก็ลองแวะไปดูหมู่ตึกที่กว้างขวางได้ด้วย