HOME Back

Use the

Planning a Trip to Japan?

Share your travel photos with us by hashtagging your images with #visitjapanjp

อนุสรณ์สันติภาพ (โดมระเบิดปรมาณู) 世界遺産 原爆ドーム

Hiroshima Atomic Bomb Dome Hiroshima Atomic Bomb Dome
Hiroshima Atomic Bomb Dome Hiroshima Atomic Bomb Dome

สัญลักษณ์สากลสำหรับการเลิกใช้อาวุธนิวเคลียร์และสันติภาพที่ยั่งยืนของโลก

สวนอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะตั้งอยู่ใจกลางของเมืองฮิโรชิมะ ซึ่งตำแหน่งในปัจจุบันใกล้กับตำแหน่งศูนย์กลางของระเบิดปรมาณูที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 โดยมุ่งหวังถึงสันติภาพที่ยั่งยืนของโลกใบนี้ นอกจากโดมระเบิดปรมาณูที่เป็นสถานที่มรดกโลกแล้ว สวนแห่งนี้ยังเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับเหยื่อของระเบิดปรมาณูโดยรายชื่อผู้เสียชีวิตได้ถูกจารึกเอาไว้ และมีการจัดแสดงอนุสาวรีย์ต่างๆอีกมากมาย ส่วนพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ มีการจัดแสดงเอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระเบิดนิวเคลียร์ซึ่งดึงดูดผู้เข้าชมกว่า 1.7 ล้านคนในทุกๆปีทั้งชาวญี่ปุ่นและชาวต่างประเทศ

เกร็ดน่าสนใจ

สวนอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะครอบคลุมพื้นที่กว่า 122,100 ตารางเมตร

พื้นที่ของสวนแห่งนี้มีอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์มากมาย รวมถึงอนุสรณ์สถานสำหรับเหยื่อของระเบิดปรมาณู พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ และอาคารอนุสรณ์สันติภาพแห่งชาติฮิโรชิมะสำหรับเหยื่อระเบิดปรมาณู เป็นต้น

วิธีการเดินทาง

จากสถานีฮิโรชิมะ ขึ้นรถไฟไฟฟ้าฮิโรชิมะ (ฮิโรเด็น) สตรีทคาร์ (หมายเลข 2 หรือ 6) และลงที่ป้าย "เก็งบะคุ โดม-มาเอะ" และเดินต่ออีก 1 นาที รวมระยะเวลาเดินทาง 17 นาที

โดมปรมาณู

โดมระเบิดปรมาณูซึ่งก่อนหน้านี้เป็นอาคารส่งเสริมอุตสาหกรรมของจังหวัดฮิโรชิมะออกแบบโดยสถาปนิกชาวเชคชื่อ Jan Letzl และได้รับการยกย่องอย่างสูงในขณะที่ก่อสร้างในปี ค.ศ. 1915 สำหรับการออกแบบสไตล์ยุโรปที่โดดเด่น แต่เมื่อเวลา 08.15 น. ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1645 อาคารหลังนี้ได้ถูกทำลายลงโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูครั้งแรกของโลก และเผาไหม้พื้นที่โดยรอบ เปลวไฟลุกท่วมทันทีตั้งแต่เพดานจนถึงพื้น คร่าชีวิตทุกคนในอาคารทันที เนื่องจากแรงดันจากการระเบิดกระจายมาจากด้านบนทำให้บางส่วนของกำแพงยังตงหลงเหลืออยู่ หลังจากนั้นซากอาคารดังกล่าวถูกเรียกว่า "โดมระเบิดปรมาณู" เนื่องจากโครงเหล็กทรงโดมที่โดดเด่น และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1996 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการทำลายล้างที่เกิดจากระเบิดปรมาณูลูกแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และแสดงถึงความสำคัญของการเลิกใช้อาวุธนิวเคลียร์และสันติภาพของโลกที่ยั่งยืน

 

 

อนุสาวรีย์และอนุสรณ์สถาน

อนุสรณ์สถานของเหยื่อจากระเบิดปรมาณู (โดยชื่ออย่างเป็นทางการ ได้แก่ อนุสาวรีย์อนุสรณ์สถานสำหรับฮิโรชิมะ, เมืองแห่งสันติภาพ) โดยมีการจารึกรายชื่อผู้เสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูในครั้งนั้น อนุสาวรีย์ทำจากหินรูปทรงโค้งลักษณะคล้ายหลังคาจั่วเพื่อปกป้องวิญญาณของเหยื่อระเบิดปรมาณูจากฝนและน้ำค้าง

อาคารพักผ่อนของสวนสันติภาพฮิโรชิมะ ตั้งอยู่บนจุดที่ห่างจากศูนย์กลางของการระเบิด 170 เมตร และได้ถูกเผาไหม้ลงหลังจากการระเบิด หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างขึ้นใหม่หลังจากสิ้นสุดสงคราม และเปิดทำการอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2020 บนชั้นที่ 1 ใช้เป็นศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวและมีผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นจำหน่าย และบนชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่พักผ่อนซึ่งมีร้านกาแฟไว้บริการ ส่วนชั้นใต้ดินและชั้นที่ 3 ใช้เป็นพื้นที่จัดนิทรรศการ

 

 

ระฆังสันติภาพ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณและการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของโลกและปราศจากอาวุธนิวเคลียร์และสงคราม พื้นผิวของระฆังนูนเป็นรูปแผนที่โลกไร้พรมแดน เป็นสัญลักษณ์ของ "One World"

เด็กจำนวนมากเสียชีวิตจากระเบิดปรมาณู รวมถึงซาดาโกะ ซาซากิ ผู้ซึ่งเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและถูกจารึกไว้ในความทรงจำที่อนุสาวรีย์สันติภาพสำหรับเด็ก อนุสาวรีย์แห่งนี้ริเริ่มสร้างขึ้นจากเพื่อนร่วมห้องเรียนของซาดาโกะ โดยระดมทุนเพื่อสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์

เปลวไฟแห่งสันติภาพลุกโชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจุดขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1964 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นที่จะต่อต้านนิวเคลียร์ โดย "จะรักษาเปลวไฟนี้ไว้จนกระทั่งวันที่อาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดได้หมดไปจากโลกใบนี้" ซึ่งแท่นของเปลวเพลิงมีลักษณะเป็นสองมือโดยเปิดฝ่ามือขึ้นสู่ท้องฟ้า

 



* ข้อมูลต่างๆ บนเวบไซต์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

คำแนะนำสำหรับคุณ

Hiroshima Peace Memorial (UNESCO)
อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ (ยูเนสโก)
Hiroshima Peace Memorial Museum
พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ

Please Choose Your Language

Browse the JNTO site in one of multiple languages