HOME Back

Use the

Planning a Trip to Japan?

Share your travel photos with us by hashtagging your images with #visitjapanjp

Japanese architecture Japanese architecture

เรื่องราว สัมผัสกับโลกของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

Photo copyright: (c)Hiroyuki Hirai

เยี่ยมชมและดื่มด่ำกับผลงานของสถาปนิกชั้นครู

อาคารที่มีขื่อเสียงมากมาย ที่คุณสามารถพบเห็นได้ในญี่ปุ่น เช่น พิพิธภัณฑ์และแกลอรี่ต่างๆซึ่งเป็นผลงานของสถาปนิกที่มีชื่อสียง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปีค.ศ. 2022 รางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ซึ่งเปรียบเหมือนรางวัลโนเบลด้านสถาปัตยกรรม ได้มอบรางวัลให้กับสถาปนิกชาวญี่ปุ่น 8 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดที่ประเทศใดประเทศหนึ่งเคยได้รับรางวัล ขออนุญาตแนะนำสถาปนิกบางท่านที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงและเป็นผู้นำญี่ปุ่นเข้าสู่ยุคใหม่ของงานสถาปัตยกรรม

เคนโซ ทังเงะ

เคนโซ ทังเงะ เป็นคนญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับรางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ เขาเป็นผู้บุกเบิกงานรูปแบบสมัยใหม่ในช่วงยุคหลังสงครามของญี่ปุ่น (สงครามโลกครั้งที่สอง) และมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการวางแผนและออกแบบเมือง เขาได้รับแรงบันดาลใจจาก งานของ เลอ คอร์บูซีเยร์ สถาปนิกชาวสวิส-ฝรั่งเศส ผู้บุกเบิกสไตล์โมเดิร์นนิสในช่วงต้นศตวรรษที่20 ซึ่งทำให้รูปแบบงานของเคนโซ ทังเงะสามารถผสมผสานระหว่างความงามดั้งเดิมแบบญี่ปุ่นกับรูปแบบสมัยใหม่ ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้แก่ ได้แก่ สนามกีฬาแห่งชาติโยโยงิ อาคารศาลาว่าการกรุงโตเกียว และอาคารฟุจิเทเลวิชัน ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว

©JAPAN SPORT COUNCIL

ฟุมิฮิโกะ มากิ

ฟุมิฮิโกะ มากิ เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของการประชุมระดับโลกด้านการออกแบบครั้งที่หนึ่ง จัดขึ้นที่ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1960 และเขายังเป็นสมาชิกของกลุ่มเมแทบอลิซึมมูฟเมนต์ซึ่งนำเสนอแนวคิดใหม่ทางสถาปัตยกรรมและเมืองเพื่อสังคมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแนวคิดนี้ มากิร่วมกับมาซาโตะ โอตากะ นำเสนอแนวคิด “กลุ่ม-รูปร่าง” ซึ่งครอบคลุมรูปแบบสถาปัตยกรรมส่วนบุคคลที่หลากหลายเพื่อสร้างภาพลักษณ์โดยรวม และในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่นคนที่สองที่ได้รับรางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ ไดคังยามะ ฮิลไซด์ เทอร์เรช คอมเพล็กซ์ ในกรุงโตเกียว สไปรัลในกรุงโตเกียว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติศิลปสมัยใหม่ ในจังหวัดเกียวโต พิพิธภัณฑ์ชิมาเนะสำหรับอิซุโมะยุคโบราณ และมาคุฮาริ เมซเซย์ ในจังหวัดชิบะ เป็นต้น

©มากิและเพื่อน

ทาดาโอะ อันโดะ

ทาดาโอะ อันโดะเป็นบุคคลที่โดดเด่นและไฝ่หาความรู้ด้วยตนเองในโลกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นคนญี่ปุ่นคนที่สามที่ได้รับรางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ ทาดาโอะ อันโดะมีชื่อเสียงด้านอาคารคอนกรีตที่โดดเด่นซึ่งมีแนวคิดการใช้แสงจากธรรมชาติ ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โอโมเตะซังโด ฮิลส์ ในกรุงโตเกียว [พิพิธภัณฑ์ศิลปะจังหวัดเฮียวโกะ] (/spot/15/) และคริสตจักรแห่งแสงสว่างในนครโอซากา

Omotesando Hills

คิโช คุโรกาวะ

คิโช คุโรกาวะ เป็นหนึ่งในผู้นำการจัดงานเจแปน เวิลด์ เอกซ์โปซิชัน ที่นครโอซากา ในปีค.ศ. 1970 และเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มสถาปนิกหัวก้าวหน้า รวมถึงเมแทบอลิซึมมูฟเมนต์ งานของเขาประกอบไปด้วยแนวคิดเมแทบอลิซึม ข้อมูล และการรีไซเคิล ซึ่งเขาเรียกว่า “หลักการของชีวิต”

ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ศูนย์งานศิลปะแห่งชาติ กรุงโตเกียว /), พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จังหวัดฟุคุอิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยเมืองฮิโรชิมะ สำนักงานใหญ่ธนาคารฟุกุโอกะ และพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งชาติในนครโอซาก้า เป็นต้น

โทโย อิโต Toyo Ito

โทโย อิโต เป็นสถาปนิกที่ไม่ได้จำกัดรูปแบบผลงานด้วยรูปแบบใดๆ งานออกแบบที่มีรูปแบบอิสระของเขาเต็มไปด้วยเส้นโค้ง กระจก และสะท้อนตัวตนของพื้นที่และท้องถิ่น โทโย อิโต ได้รับรางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ในปี ค.ศ. 2013 โดยผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ เซนได มีเดียทีค ในจังหวัดมิยางิ สถานีโมโตมาจิ-ชูกะไก บนรถไฟสายมินาโตะมิไร ในจังหวัดคานากาวะ และ โรงละครสาธารณะซา-โคเอ็นจิ ในกรุงโตเกียว

©Toyo Ito & Associates, Architects

เคงโกะ คุมะ

เคงโกะ คุมะ เป็นหนึ่งในสถาปิกแนวร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมสูงสุดในญี่ปุ่น งานของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งรอบตัวและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เขามักจะประสานทรัพยากรและวัสดุธรรมชาติเข้ากับงานของเขา

ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สะพานไม้ยุซุฮาระ ในจังหวัดโคจิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะนากางาวะ-มาจิ บะโต ฮิโรชิเงะ ในจังหวัดโทชิงิ พิพิธภัณ์เนะซุ ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวและวัฒนธรรมอาซากุซะ และพิพิธภัณฑ์เมจิ จิงงุ ซึ่งทั้งสามแห่งอยู่ในกรุงโตเกียว เป็นต้น

ภาพโดย©ทาคุมิ โอตะ 

ชุเงะรุ บัน

ชิเงะรุ บัน มีชื่อเสียงด้านการใช้วัสดุรีไซเคิลหรือสามารถรีไซเคิลได้ในงานของเขา ตัวอย่างวัสดุที่เขานิยมใช้ในงาน ได้แก่ คอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่งทางเรือ หลอดที่ทำจากกระดาษและกระดาษแข็ง รวมถึงไม้ ชิเงะรุ บันได้รับรางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ในปี ค.ศ. 2014

ตัวอย่างผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เซ็น เวลเนส เซย์เนย์ ในจังหวัดเฮียวโกะ ยูฟุอินโฟ ในจังหวัดโออิตะ โรงแรมโชไน ซุยเด็น เทเรซ ในจังหวัดยามางาตะ พิพิธภัณฑ์ศิลปะจังหวัดโออิตะ ศูนย์มรดกโลกภูเขาฟูจิ ในจังหวัดชิซุโอกะ

(c)ฮิโรยูกิ ฮิไร

อาราตะ อิโซซากิ

อาราตะ อิโซซากิ ผู้นำด้านสถาปัตยกรรมแบบโพสโมเดิร์น ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ยึดติดกับสไตล์น้อยที่สุด ทั้งๆที่มีอายุมากกว่า 90 ปีแล้วแต่เขายังคงทำงานผลักดันวงการสถาปัตยกรรม เขาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีฟังก์ชันการใช้งานผ่านงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมของเขา และนี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาได้รับรางวัลไพรซ์เกอร์อาร์คิเทคเจอร์ในปี ค.ศ. 2019

ตัวอย่างผลงานของเขา ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะของนครคิตะคิวชู ในจังหวัดฟุกุโอกะ อาร์ต ทาวเวอร์ มิโตะ อาคารศูนย์ทซุคุบะ ในจังหวัดอิบารากิ ห้องสมุดจังหวัดโออิตะหลังเก่า (ปัจจุบันเป็นอาร์ตพลาซ่า) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจังหวัดโออิตะ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ พิพิธภัณฑ์ฮาระ เออาร์ซี ในจังหวัดกุมมะ และพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยนางิ ในจังหวัดโอกายามะ เป็นต้น

สถาปนิกเหล่านี้และผลงานอันยอดเยื่ยมของพวกเขาไม่เพียงแต่เปลี่ยนมุมมองของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นของพวกเรา แต่ยังสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างต่อเนื่อง

Did this information help you?

Please Choose Your Language

Browse the JNTO site in one of multiple languages