สะพานสู่ยุคที่ผ่านพ้นกลายเป็นเส้นทางธรรมชาติในยุคปัจจุบัน
สะพานรถไฟอุซุย หมายเลขสาม ซึ่งสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1892 ทำหน้าที่เป็นทางข้ามรถไฟผ่านเส้นทางเส้นทางอุุซุยระหว่างโยโคะคะวะ ในกุมมะและคะรุอิซะวะ ในนะงะโนะจนกระทั่งหยุดให้บริการไปในปี ค.ศ.1963
ชื่อเล่นของสะพานนี้ คือ เมะกาเนะบาชิ เนื่องจากช่วงโค้งนี้ดูคล้ายกับแว่นตา (ซึ่งก็คือคำว่าเมะกาเนะในภาษาญี่ปุ่น)
เกร็ดน่าสนใจ
ใน ค.ศ. 1993 สะพานแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญประจำชาติ
เป็นสะพานอิฐโค้งที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
วิธีการเดินทาง
เนื่องจากการขนส่งสาธารณะมีอยู่อย่างจำกัด วิธีที่ง่ายที่สุดในการไปเยี่ยมชมสะพานรถไฟอุซุย หมายเลขสาม คือ โดยรถยนต์
ขับรถไปตามทางหลวงนากาเซ็นโดโดยมุ่งหน้าไปทางคะรุอิซะวะ แล้วคุณจะเห็นสะพานนี้หลังจากผ่านทะเลสาบอุซุย มาแล้ว หรือจะนั่งรถไฟสายชิเน็ตสึจากทะคะซากิมาลงที่สถานีโยโกคาวะก็ได้ จากสถานีจะใช้เวลาเดินประมาณหนึ่งชั่วโมง 30 นาที
วิศวกรรมแบบผสมผสานทั้งตะวันออกและตะวันตก
ความประทับใจแรกที่มีต่อสะพานนี้คือการออกแบบที่ดูคล้ายสไตล์ยุโรป โดยเฉพาะการใช้อิฐสีแดง ซึ่งในความเป็นจริง สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นภายใต้คำแนะนำจากชาร์ล แอสเซตัน เวทลี พาวนอลล์ วิศวกรชาวอังกฤษ และกลายเป็นหนึ่งในการร่วมมือครั้งแรก ๆ กับวิศวกรที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นในช่วงต้นของยุคเมจิ
เดินป่าบนทางรถไฟสายเก่า
ในปี ค.ศ. 2001 เส้นทางธรรมชาติระยะทางหกกิโลเมตรถูกสร้างขึ้นตามทางรถไฟที่เลิกใช้งานแล้ว และตั้งชื่อว่าแอปต์โรด เดินตามเส้นทางนี้ไปแล้วคุณจะเข้าใจว่าต้องใช้ฝีมือมากเพียงใดจึงจะสร้างเส้นทางแบบนี้ขึ้นมาได้และชื่นชมทิวทัศน์อันแสนสวยงามโดยรอบ
* ข้อมูลต่างๆ บนเวบไซต์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19